วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4

บริบทของสถานศึกษา
                โรงเรียนวัดโบสถ์ตั้งอยู่ที่ หมู่ 9  ตำบล ปากพูน อำเภอ เมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช   เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  ปัจจุบันปีการศึกษา 2553  มีจำนวนนักเรียน  372  คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2553)  เปิดสอนระดับอนุบาล - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีห้องเรียนจำนวน 12  ห้อง ห้องพิเศษ 6 ห้อง มีครูและบุคลากรทางการศึกษา 21 คน  ผู้อำนวยการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน
โครงสร้างการบริหารงาน
                ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนวัดโบสถ์จัดโครงสร้างการบริหารเป็น 4 ฝ่าย ประกอบด้วย   ฝ่ายบริหารงานวิชาการ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป  ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ และฝ่ายบริหารงานบุคคล 
จุดเด่น 
1. โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนชัดเจนเป็นระบบ โปร่งใสตรวจสอบได้
2. ปริมาณครูเพียงพอ ครูมีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย มีประสบการณ์มากและสอนอยู่ที่โรงเรียนไม่น้อยกว่า 5  ปี  รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่และความพร้อมของผู้เรียนเป็นอย่างดี ทุกคนมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง และปฏิบัติหน้าที่งานสอนได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
3. ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา  ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือกับการบริหารการศึกษาของโรงเรียนเป็นอย่างดี
4. ในชุมชนมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้หลากหลายสาขา ที่ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการการสอนของโรงเรียนเป็นอย่างดี

จุดด้อย
1. นักเรียนขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง ไม่มีความใฝ่รู้  ไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. นักเรียนส่วนใหญ่มาจากสภาพครอบครัวที่ยากจนและมีปัญหา เช่นพ่อแม่หย่าร้าง พ่อหรือแม่เสียชีวิต  นักเรียนถูกทอดทิ้งให้อยู่กับญาติผู้ใหญ่ จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
3. ครูมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อ  เทคโนโลยี  ค่อนข้างน้อย
4. โรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ซึ่งมีไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
การใช้เทคโนโลยีกับระบบข้อมูลสถานศึกษา
ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลสถานศึกษา  ใช้โปรแกรม  Student   Smis  Obec  เพื่อจัดเก็บข้อมูล  สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 
แนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้นวัตกรรม (INNOVATION)
            จากจุดด้อยของสถานศึกษา เมื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีนั้น ในความเห็นของดิฉันคิดว่าคงใช้เวลานานพอสมควรประการแรกเนื่องจากสภาพทางครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหา ฐานะยากจน และจากการสำรวจ    การสอบถามนักเรียน ทำให้ทราบว่านักเรียนประมาณร้อยละ 95 ที่บ้านไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้  ประการที่ 2 โรงเรียนขาดแคลนคอมพิวเตอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ประมาณ 3 เครื่อง ต่อนักเรียน 372 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนได้  ดิฉันคิดว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการแก้ไข  เพราะการจัดการศึกษาในปัจจุบันต้องทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี
                ในอนาคตข้างหน้าถ้าทางโรงเรียนมีแนวทาง และสามารถแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นได้นั้น ดิฉันคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดความรู้เรื่อง การสร้างเว็บบล็อก (Web blog)  จากท่านอาจารย์อภิชาต วัชรพันธุ์  มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเอง พัฒนางานของทางโรงเรียน และเมื่อดิฉันมีความชำนาญ และใช้ได้ผลดี ดิฉันก็จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนครูในโรงเรียนตลอดจนผู้ที่สนใจ เพื่อต่อยอดและขยายผลให้ครูได้พัฒนาตนเองในเรื่องเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น